เมนู

[466] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วย
ปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอัน
สหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร ย่อมดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับ
ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก
เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 13

อรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยในอุทยสูตรที่ 13 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาวิโมกฺขํ คือ อรหัตวิโมกข์ อุทยมาณพทูลถามถึง
วิโมกข์อันสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัต.
บทว่า ปฐเมนปิ ฌาเนน ฌายี พระผู้มีพระภาคเจ้ามีฌานแม้
ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพ่งด้วยปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ทุติเยน คือ เพ่งด้วยทุติยฌาน
สัมปยุตด้วยปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ตติเยน คือ เพ่งด้วยตติย-
ฌาน สัมปยุตด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. บทว่า จตุตฺเถน คือ เพ่งด้วย
จตุตถฌาน สัมปยุตด้วยอุเบกขาจิตเตกัคคตา. บทว่า สวิตกฺกสวิจาเรนปิ

ฌาเนน ฌายี เพ่งด้วยฌานแม้มีวิตกมีวิจาร คือ ชื่อว่ามีฌานเพราะเพ่ง
ฌานมีวิตกมีวิจาร ด้วยปฐมฌานในจตุตกนัยและปัญจกนัย. บทว่า
อวิตกฺกวิจารมตฺเตน ด้วยฌานสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร คือด้วยทุติยฌาน
ในปัญจกนัย. บทว่า อวิตกฺกอวิจาเรน ด้วยฌานอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
คือด้วยฌานที่เหลือ มีทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น. บทว่า สปฺปีติ-
เกน
ด้วยฌานมีปีติ คือด้วยทุกฌานและติกฌานอันสัมปยุตด้วยปีติ.
บทว่า นิปฺปีติเกน ด้วยฌานไม่มีปีติ คือด้วยฌานอันเหลือจากนั้น
เว้นแล้วจากปีติ. บทว่า สาตสหคเตน ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข
คือด้วยติกฌานจตุกกฌานอันสหรคตด้วยสุข. บทว่า อุเปกฺขาสหคเตน
ด้วยฌานอันสหรคตด้วยอุเบกขา คือด้วยจตุตถฌานและปัญจมฌาน.
บทว่า สุญฺญเตน ด้วยฌานอันเป็นสุญญตะ คือด้ายฌานอันประกอบด้วย
สุญญตวิโมกข์. บทว่า อนิมิตฺเตนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ.
ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพิกนิมิตว่าเที่ยง นิมิตว่ายั่งยืน และนิมิตว่าตน
ออกเสีย แล้วเพ่งด้วยฌานอันเป็นอนิมิตที่ตนได้แล้ว. บทว่า อปฺปณิ-
หิเตนปิ
แม้ด้วยฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ คือด้วยฌานอันไม่มีที่ตั้ง เพราะ
ผลสมาบัติ เพราะชำระถือเอาซึ่งความปรารถนาด้วยการถึงมรรค. บทว่า
โลกิเยปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ คือด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌานอันเป็นโลกิยะ. บทว่า โลกุตฺตเรนปิ แม้ด้วยฌานอัน
เป็นโลกุตระ คือด้วยฌานอันสัมปยุตด้วยโลกุตระนั่นเอง. บทว่า ฌาน-
รโต
คือเป็นผู้ยินดีแล้วในฌานทั้งหลาย. บทว่า เอกตฺตมนุยุตฺโต ทรง
ขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว คือทรงขวนขวายประกอบความเป็นผู้เดียว.
บทว่า สทตฺถครุโก คือ เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน. แปลง

อักษรเป็น อักษร. อนึ่ง บทว่า สทตฺโถ พึงทราบว่า คือพระอรหัต.
จริงอยู่ พระอรหัตนั้นท่านกล่าวว่า ประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า เข้าไป
ผูกพันกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ของตน. เป็นผู้หนักในประโยชน์ตน ด้วยอำนาจการเข้าถึงผลสมาบัติ.
อาจารย์พวกนี้กล่าวว่า เป็นผู้หนักในนิพพาน. บทว่า อรโช คือ ไม่มี
กิเลส. บทว่า วิรโช คือ ปราศจากกิเลส. บทว่า นิรโช คือ นำ
กิเลสออกไปแล้ว. ปาฐะว่า วีตรโช บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า
รชาปคโต คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส. บทว่า รชวิปฺปหีโน คือ เป็นผู้ละ
กิเลสได้แล้ว. บทว่า รชวิปฺปมุตฺโต คือ เป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า ปาสาณเก เจติเย ณ ปาสาณกเจดีย์ คือ ณ ที่ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรบนหลังแผ่นหิน. บทว่า สพฺโพสฺสุกฺกปฏิ-
ปสฺสทฺธตฺตา
เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวายทั้งปวงแล้ว คือ
พระองค์ชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวาย คือ
อาสวะทั้งปวงได้แล้ว คือทำให้สูญสิ้นไป. บทว่า กิจฺจากิจฺจํ กิจน้อย
ใหญ่ คือพึงคิดด้วยใจอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ดังนี้.
บทว่า กรณียากรณียํ คืล กรรมที่ควรทำและกรรมที่ไม่ควรทำอย่างนี้ว่า
กรรมนี้เป็นไปทางกายทวารควรทำ กรรมนี้ไม่ควรทำ. บทว่า ปหีนํ
ละแล้ว. คือสละแล้ว. บทว่า วสิปฺปตฺโต ถึงความชำนาญ คือถึง
ความเป็นผู้คล่องแคล่ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอุทยมาณพได้จตุตถฌาน
ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงวิโมกข์คือพระอรหัตโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจ
แห่งฌานที่อุทยมาณพนั้นได้แล้ว จึงตรัสพระคาถาทั้งหลายต่อไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปหานํ กามฉนฺทานํ เป็นเครื่องละกามฉันทะ
ทั้งหลาย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอุทยมาณพว่า เราขอบอกอัญญา-
วิโมกข์เป็นเครื่องละกามฉันทะแก่ผู้ที่ยังปฐมฌานให้เกิด. พึงประกอบบท
ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยาจิตฺตสฺส อกลฺลตา ความที่จิตไม่ควร คือความที่จิต
เป็นไข้. เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก. แม้ในวินัยท่านก็กล่าว
ไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลิโก กระผมมิได้เป็นไข้ขอรับ. บทว่า
อกมฺมญฺญตา ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน คือความที่จิตเป็นไข้.
บทว่า โอลิยนา ความท้อ คืออาการท้อ. จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในอิริยาบถ
ไม่สามารถจะทรงอิริยาบถไว้ได้ ย่อมติดแน่นดุจค้างคาวติดที่ต้นไม้ และ
ดุจนำอ้อยแขวนอยู่ที่เสา ท่านกล่าวว่า โอลิยนา หมายถึงอาการของจิต
นั้น. บทที่ 2 เพิ่มอุปสัคลงไปเป็น สลฺลียนา ความถอย. บทว่า ถีนํ
ความหดหู่ คือความเป็นผู้ก้มหน้าไม่ผึ่งผาย. อีก 2 บทแสดงความเป็น
อาการ. บทว่า ถีนํ ความง่วงเหงา คือตั้งอยู่เป็นก้อนไม่กระจายดุจก้อน
เนยใส. บทว่า ถียนา อาการง่วงเหงา แสดงถึงอาการ. ความเป็น
ผู้ง่วงเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺตํ อธิบายว่า ติดแน่นไม่กระจัดกระจาย.
บทว่า อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ อันมีอุเบกขาและสติหมดจดดี คือ
หมดจดด้วยอุเบกขาและสติในจตุตถฌาน. ท่านกล่าวถึงอรหัตวิโมกข์ที่ได้
บรรลุอย่างวิเศษ ถึงองค์ฌานอันตั้งอยู่แล้วในวิโมกข์ คือจตุตถฌานนั้น
ด้วยบทนี้ว่า ธมฺมตกฺกปุเรชวํ มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้าง
หน้า. บทว่า อวิชฺชาย ปเภทนํ เป็นเครื่องทำลายอวิชชา คือพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์นั้นนั่นแลว่า เป็นเครื่อง

ทำลายอวิชชา โดยการณะและอุปจาระอันเกิดเพราะอาศัยนิพพานอันเป็น
เครื่องทำลายอวิชชาให้สิ้นไป.
ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเห็นตั้งแต่การเกิดขึ้นในบทนี้ว่า ยา จตุตฺเถ
ฌาเน อุเปกฺขา
ความวางเฉยในฌานที่ 4. อธิบายว่า เห็นชอบ คือ
เห็นโดยไม่ตกไปเป็นฝักฝ่าย. บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่วางเฉยแสดงถึง
อาการ. บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา ความเพิกเฉย เป็นบทเพิ่มอุปสัค. บทว่า
จิตฺตสมโถ ความสงบแห่งจิต คือความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า
จิตฺตปฺปวตฺติตา ความที่จิตเป็นไป คือความที่จิตเว้นจากความพร่องความ
เกินและความเปล่า. บทว่า มชฺฌตฺตา ความที่จิตเป็นกลาง คือความ
ที่จิตตั้งอยู่ในท่ามกลาง.
อุทยมาณพครั้นสดับถึงนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วย
พระดำรัสอันเป็นประเภทแห่งอวิชชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูลถามว่า พระองค์
ตรัสว่านิพพานเพราะละอะไรเสียได้ จึงกล่าวคาถาว่า กึสุ สญฺโญชโน
โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า วิจารณํ อะไร
เป็นเครื่องเที่ยวไป คือทำการท่องเที่ยว. บทว่า กิสฺสสฺส วิปฺปหาเนน
คือเพราะละธรรมชื่ออะไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่อุทย-
มาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า นนฺทิสญฺโญชโน โลกมีความเพลิดเพลิน
เป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า วิตกฺกสฺส คือ วิตกมีกามวิตกเป็นต้นพึงมี
บัดนี้อุทยมาณพเมื่อจะทูลถามทางแห่งนิพพานนั้น จึงกล่าวคาถาว่า กถํ
สตสฺส
เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิญฺญาณํ คือ วิญญาณอันเป็นอภิสังขาร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบอกทางแก่อุทยมาณพนั้น
จึงตรัสพระคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ในภายใน ดังนี้เป็นต้น. บทว่า
เอวํ สตสฺส คือ มีสติรู้อยู่อย่างนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรม
เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ๆ นั้นแล.
จบอรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 13

โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านโปสาละ


[467] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงมีความหวั่น-
ไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว ทรงถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง ย่อมทรงแสดงอดีต ข้าพระองค์มีความต้องการ
ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

[468] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย อตีตํ อาทิสติ ดังนี้ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมา
ในกาลก่อน ทรงบรรลุซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และ
ทรงบรรลุซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมทรงแสดงอดีต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง
แสดงแม้อดีต ย่อมทรงแสดงแม้อนาคต ย่อมทรงแสดงแม้ปัจจุบัน ของ
พระองค์เองและของผู้อื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของพระองค์อย่างไร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง อันเป็นอดีตของพระองค์เองว่า ในภพโน้น